ระเบิดเวลา รัฐบาลลดค่าไฟด้วยการยืดหนี้ กฟผ. อนาคตส่อพุ่ง 6 บาท
มติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2566 ประกาศลดค่าไฟฟ้า จากเดิมในอัตรา 4.45 บาทต่อหน่วย เหลือเพียง 3.99 บาทต่อหน่วย ในรอบบิลเดือน ก.ย. นับเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่มีผลทันที ทำให้ค่าไฟฟ้าของประชาชนมีแนวโน้มลดลง
ครม. มีมติรับทราบ ลดค่าไฟลงอีกในรอบบิล เดือน ก.ย. เหลือ 3.99 บาท
เปิดรายละเอียดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา "จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ"
แต่มาตรการลดค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนนี้ยังมีความไม่ชัดเจนในแง่ของการสนับสนุนส่วนต่างที่ลดลงมาแล้วถึง 46 สตางค์ต่อหน่วย โดยแนวทางการสนับสนุนมีหลายรูปแบบ
ซึ่งการวิเคราะห์ของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) โดยสรุปมองว่าแนวทางในการสนับสนุนส่วนต่างดังกล่าวเป็นได้หลากหลายรูปแบบ แต่ที่ดูจะเป็นไปได้มากที่สุดและรัฐน่าจะเลือกมากที่สุด คือ ยืดหนี้หรือภาระต้นทุนจากการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือ กฟผคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ออกไปก่อนจากเดิมต้องการชำระคืนภายใน 3 ปี ตามมติของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในช่วงธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา
หนี้ กฟผ.เกิดจาก?
การแบกรับค่า Ft ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนของค่าความพร้อมเดินเครื่องเพื่อจ่ายไฟฟ้า (AP) และต้นทุนของเชื้อเพลิงที่มีการเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 1.5 แสนล้านบาท
“ยืดหนี้” สร้างปัญหาให้ กฟผ. เหมือน“ระเบิดเวลา”
ซึ่งเป็นระเบิดเวลาที่รอเวลาเกิดผลกระทบในวงกว้างจากภาระหนี้สินและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะการยืดหนี้ย่อมสร้างต้นทุนใน กฟผ.อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ขาดสภาพคล่อง กระทบต่อความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้องค์กร ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟในอนาคตของประชาชนอย่างแน่นอน
โดยหากพ้นระยะของการพักชำระหนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากมีการเรียกเก็บคืนทันทีในระยะเวลาหลังจากนั้น อาจจะทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากกว่า 6 บาทกว่าต่อหน่วยเลยทีเดียว
การปรับโครงสร้างหนี้โดยปราศจากการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม จะกลายเป็นเพียงการพักหนี้ระยะสั้น
มาตรการยืดเวลาการชำระหนี้จึงเป็นเพียงมาตรการระยะสั้นและมีแนวโน้มที่จะเกิดสถานการณ์ราคาค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่กิจการไฟฟ้าของประเทศไทยยังคงมีการส่งต้นทุนไปยังผู้บริโภคโดยตรง (Cost pass-through) โดยผู้ลงทุนโรงไฟฟ้าไม่ต้องมีการแบกรับความเสี่ยงของราคาเชื้อเพลิงที่มีความผันผวนตลอดเวลา และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะต้องเจอกับราคาค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยภาระหนี้ในอดีตอย่างเลี่ยงไม่ได้
แนะแก้ปัญหาให้ตรงจุด
แน่นอนว่าภาระค่าครองชีพเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขในระยะสั้น ดังนั้นหากรัฐจะใช้แนวทางการยืดหนี้ ควรใช้ให้ถูกกลุ่มและมีระยะเวลาการช่วยเหลือที่ชัดเจน เช่น ลดค่าไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่มีความจำเป็นหรือครัวเรือนที่มีรายได้น้อย เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสจากภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในระยะยาวควรมีการวางแผนและจัดระบบไฟฟ้าควรคำนึงถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าของสังคมที่เพิ่มมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านหรือการใช้รถยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งการพิจารณาเทคโนโลยีในอนาคตที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปอีกด้วย
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม