ทดสอบแปรรูป สาโท-คราฟเบียร์ สร้างนวัตกรรมระดับชุมชนต่อยอดธุรกิจ
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ศึกษาดูงานวิจัยด้านการแปรรูปข้าวที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก เพื่อดูวิจัยด้านการแปรรูปข้าวและการทดสอบรสชาติเครื่องดื่ม “สาโท” ที่ผลิตจากข้าวหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งทีมวิจัยได้คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่โดดเด่นของจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ ข้าวเหนียวดำลืมผัว และ ข้าวเจ้า กข41 มาแปรรูปเพิ่มมูลค่า
ปลดล็อกเอทานอล ใช้ผลิตอุตสาหกรรมอื่นได้ นอกจากเชื้อเพลิงชีวภาพ-สุรา
ราคาน้ำตาล-เนื้อสัตว์-ข้าว ดันดัชนีราคาอาหารโลกพุ่งครั้งแรกในรอบปี
ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาวิจัย โดยศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกจะได้ทำการวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติมเริ่มจากข้าวหมากไปจนถึงคราฟเบียร์ต่อไป
ข้อมูลของศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกระบุว่า เครื่องดื่มสาโทจากข้าวเหนียวดำลืมผัว และข้าวเจ้า กข41 เป็นผลิตภัณฑ์ส่วนหนึ่งของการดำเนินงานแผนงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าสินค้าข้าว โดยนายพูลเศรษฐ์ พรโสภณ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สังกัดศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ในฐานะหัวหน้าแผนงานวิจัยฯ ได้นำข้าวทั้ง 2 พันธุ์ ซึ่งเป็นข้าวที่เกษตรกรภาคเหนือตอนล่างนิยมปลูกกันโดยทั่วไปมาใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
สำหรับข้าวเหนียวดำลืมผัวเป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวกล้องสีดำ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสาโทตามกระบวนการวิจัย สามารถปรับอัตราส่วนผสมให้ได้สาโทที่มีโทนสีชมพูจนถึงสีแดงคล้ายไวน์โรเซ หรือไวน์แดงจากองุ่นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ส่วนข้าวพันธุ์ กข41 เป็นข้าวเจ้าพื้นแข็งที่มีปริมาณอมิโลสสูง ค่อนข้างต้านทานต่อโรคและแมลงในเขตภาคเหนือตอนล่าง และให้ผลผลิตต่อไร่สูง เป็นพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย นิยมปลูกเป็นอย่างมาก แต่ตามปกติแล้ว เกษตรกรจะขายผลผลิตเป็นข้าวเปลือกให้กับโรงสีในราคาตามกลไกของท้องตลาดซึ่งในบางช่วงเวลาอาจได้มูลค่าไม่สูงนัก ข้าวพันธุ์นี้เมื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสาโท จะได้สาโทที่มีลักษณะใสและมีสีออกโทนสีเหลืองเล็กน้อยคล้ายไวน์ขาว
ขณะที่ ในการวิจัยขั้นต่อไป ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกจะเป็นการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับสภาวะกระบวนการผลิต เชื้อจุลินทรีย์จากลูกแป้ง สารประกอบสำคัญและสารให้กลิ่นรสต่าง ๆ การผลิตเป็นสุรากลั่นคุณภาพ และการใช้ข้าวไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิตคราฟเบียร์ รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จาก by-product ของกระบวนการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าว เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภท functional food ผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจากข้าว และผลิตภัณฑ์จากรำข้าว เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเมื่องานวิจัยสำเร็จ จะสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ต่อยอดสู่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย เพื่อสร้างนวัตกรรมระดับชุมชนในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าข้าว กลุ่มเกษตรกรมีองค์ความรู้ และทักษะการคิดวิเคราะห์ รวมถึงทักษะการปฏิบัติในกระบวนการแปรรูปผลผลิตข้าวของชุมชน ได้เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มเกษตรกรสามารถใช้ต่อยอดขยายผลทางธุรกิจได้ต่อไป
ทั้งนี้ “สาโท” เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่น เช่นเดียวกับเครื่องดื่มสาเกของญี่ปุ่น เกิดจากกระบวนการหมักให้เกิดแอลกอฮอล์ (alcoholic fermentation) โดยจุลินทรีย์ในกลุ่มยีสต์ ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในวัตถุดิบได้เป็นแอลกอฮอล์ เป็นเครื่องดื่มจากภูมิปัญญาที่คงอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตให้ได้คุณภาพ และสร้างสรรค์เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างมูลค่าให้แก่ข้าวไทย