Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ถอดบทเรียนนโยบายพักหนี้ เสี่ยงทำคนเสพติด-ติดกับดักหนี้

ถอดบทเรียนนโยบายพักหนี้ เสี่ยงทำคนเสพติด-ติดกับดักหนี้

วันที่ 21 ก.ยคำพูดจาก เล่นเกมสล็อต. ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้เปิดบทวิเคราะห์ ถอดบทเรียนการพักหนี้เกษตรกรไทย: ควรทำตรงจุด ชั่วคราว และคำนึงถึงวินัยลูกหนี้ เพื่อช่วยแก้หนี้อย่างยั่งยืน โดยระบุว่า ปัญหาหนี้สินเกษตรกรไทยเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วน

ข้อมูลสำรวจครัวเรือนเกษตรกรของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ และข้อมูลสินเชื่อรายสัญญาจากเครดิตบูโร ชี้ว่ากว่า 90% ของเกษตรกรไทยมีหนี้สิน โดยมีหนี้เฉลี่ยมากกว่า 450,000 บาทต่อครัวเรือน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโตถึง 75% ในรอบ 9 ปี ที่สำคัญคือครัวเรือนเกษตรกรกว่าครึ่งมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ (เป็นหนี้เรื้อรัง หรือ persistent debt) เพราะปริมาณหนี้สูงเกินศักยภาพ ทำให้การชำระหนี้ส่วนใหญ่จ่ายคืนได้เพียงดอกเบี้ยเท่านั้น

นางโสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เปิดเผยว่า นโยบายพักหนี้เกษตรกรของรัฐบาลชุดใหม่ในขณะนี้ยังไม่เห็นรูปแบบที่ชัดเจน โดยมองว่าถ้าจะพักหนี้ควรคิดใหม่ทำใหม่ เพราะพักหนี้แบบเดิมจะยิ่งทำให้หนี้โตขึ้นและหนี้เสียมากขึ้นด้วย ควรพักหนี้ระยะสั้นและตรงจุดให้กับคนที่ต้องการ ไม่ได้ให้ทุกคน เพราะจากข้อมูลที่ศึกษาพบว่าการพักหนี้แบบเดิมเหวี่ยงแห ต่อเนื่องยาวนาน ไม่มีเงื่อนไขว่าต้องสร้างวินัยการเงิน ไม่ได้ช่วยแก้หนี้ และยังทำให้เสพติดการพักหนี้ ไม่ได้แก้ในระยะยาว

ทั้งนี้ การพักหนี้วงกว้างอัตโนมัติ เข้าพักหนี้ไปแล้วไม่ได้สร้างวินัยการเงิน และ 100% ของลูกหนี้ที่พักหนี้ หนี้ไม่ได้ลดลง วิธีคือหากมีปัญหาก็ควรเข้ามา โดย 86% เคยพักหนี้ และพักเกิน 4 ปี ทำให้มองว่าบทบาทรัฐควรไปช่วยกลุ่มสีเหลือง คือจ่ายแต่ดอกเบี้ย หนี้เยอะ จะต้องปรับเปลี่ยน เพราะเลือกแต่พักหนี้ไม่มีทางที่เงินต้นจะลด และไม่สามารถออกจากกับดักหนี้ได้

น.ส.ลัทธพร รัตนวรารักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ กล่าวว่า ศึกษาผลกระทบของมาตรการพักหนี้เกษตรกร ในช่วงปี 57-66 พบว่าตลอด 9 ปีที่ผ่านมา มีการพักหนี้เกษตรกรมากถึง 13 มาตรการใหญ่ และกว่า 42% อยู่ในมาตรการพักหนี้นานเกิน 4 ปี โดยพักหนี้ทั้งพักหนี้แบบวงกว้าง และการพักหนี้แบบเฉพาะกลุ่ม ซึ่งมาตรการพักหนี้เกษตรกรในอดีตไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน เกิดจาก 77% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ ได้รับสินเชื่อใหม่ระหว่างการพักหนี้ และ 50% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ ขาดการจ่ายภาระดอกเบี้ยที่ยังเดินอยู่

นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มีแนวโน้มเป็นหนี้เสียสูงขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากวินัยทางการเงินที่ลดลง หรือเสียกำลังใจเมื่อเห็นยอดหนี้คงค้างปรับสูงขึ้นมาก อีกทั้งมีแนวโน้มสูงขึ้นที่จะกลับเข้าไปพักหนี้ซ้ำกลายเป็นติดกับดักหนี้ในที่สุด และสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาแรงจูงใจของลูกหนี้ที่บิดเบี้ยว หากเกษตรกรเข้าร่วมมาตรการเป็นเวลานาน และเกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้ไม่ได้มีการออมเงินหรือลงทุนทำการเกษตรเพิ่มขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ขณะที่ผลการศึกษาชี้ว่ามาตรการพักหนี้ที่ทำในวงกว้าง ต่อเนื่องยาวนานมีทุกปี และไม่มีเงื่อนไขการรักษาวินัยทางการเงินที่ดี จะไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกหนี้เกษตรกรในกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน โดยรูปแบบควรเป็นมาตรการระยะสั้น และใช้เฉพาะในสถานการณ์รุนแรง เช่น การเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง การระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมทั้งทำในวงจำกัดสำหรับลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพ แต่ประสบปัญหาในการชำระหนี้ชั่วคราวเท่านั้น และควรมีกลไกสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ทุกกลุ่มยังรักษาวินัยในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับกลุ่มลูกหนี้ดีที่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ ต้องมีกลไกที่ทำให้ลูกหนี้ยังเลือกชำระหนี้อย่างมีวินัย ป้องกันไม่ให้เข้าร่วมมาตรการพักหนี้ เช่น การลดดอกเบี้ยสินเชื่อใหม่สำหรับลูกหนี้ที่ชำระได้ตามปกติ เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ชำระหนี้ต่อเนื่อง ส่วนลูกหนี้ที่ประสบปัญหาและจำเป็นต้องเข้ามาตรการพักหนี้ ควรมีกลไกที่ยังทำให้ลูกหนี้มีแรงจูงใจและความพยายามที่จะชำระหนี้ตามความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การพักชำระหนี้เพียงบางส่วน ทำให้ลูกหนี้ยังสามารถชำระหนี้ได้ และเสริมด้วยให้เกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มีการปรับตัว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ และลดความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ในระยะยาวด้วย